วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลต่อไปนี้ แล้วจดบันทึกลงในสมุด พร้อมกับบอกแหล่งที่มาของคำตอบที่ได้
1คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างไร
2.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
3เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง

รู้จักคอมพิวเตอร์

รู้จัุกคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องเมือหรืออุปกรณ์คำนวณทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานได้ตามความต้องการของมนุษย์
คอมพิวเตอร์มีหลายลักษณะ ดังนี้
1.  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เพอร์ซันแนล คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "เครื่องพีซี"  หรือเรียกว่า ไม่โครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป
2.  คอมพิวเตอร์สมุดพก หรือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook)  เป็นเครื่องที่มีความสามารถในระดับเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) แต่ออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถนำติดตัวไปไหนๆ ได้ และมักจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานที่ แต่จะมีราคาสูงกว่าเครื่อง PC
3.  คอมพิวเตอร์แบบพกพา/คอมพิวเตอร์มือถือ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่พกใส่กระเป๋าได้ เช่น PDA หรือ ผู้ช่วยส่วนตัวแบบดิจิตอล" ปัจจุบันมีหลายมาตรฐานที่ต่างกัน  รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเป็นคอมพิวเตอร์ได้ด้วย


คลิกลิ้งข้างล่างเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

วีดีโอความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ชนิดของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

อีเมล์นักเรียน ป.6 ปี54


อนุสรณ์ แท้สูงเนิน games.love125@gmail.com
เกริกฤทธิ์ โนนทิง" gagrit81@gmail.com
กุลธิดารัตน์ แก้วมา" kulidalte@gmail.com
hattaya wongpow" hattaya_23@hotmail.com
ฐาปนวงศ์ โนนจุ่น" tapanavong@gmail.com
ทิพวรรณ ปลัดศรี" tippavun359@gmail.com
ธิติญาภรณ์ อาภิสิทธิ์" oa_irn@hotmail.co.th
สุทิศา โนนทิง" sutisa87@gmail.com
รัชนีกร แสนโคก" rachaneegon5@gmail.com
วัชรี มะกรวัฒนะ" gi_ng@hotmail.co.th 
พรฤหาด อุบลเลิศ ar_lo_ve@hotmail.com 
วิมลพรรณ จันทร pukgee143@gmail.com 
ครูกัญจน์ณภัค kunnaphuk@gmail.com
กนกพร คำพระแย kanokprn1@gmail.com
ศศิภรณ์ วงโพย sasiporn077@gmail.com 
ญาติกา บัวหาญ yatika066@gmail.com 
อนุชิต เจียมชนะ far_li_ve@hotmail.co.th
จักรกฤษ จันทร tobinwpb25@gmail.com
ณัฐริกา ไกรจิตติ nuntrika5@gmail.com
เกษมสุข ซิวจำปา inwbot1@gmail.com

 เอกรัตน์ ปิตะแสง not471@gmail.com

กิจกรรม การเลือกประกอบอาหารคาว

1.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เลือกประกอบอาหารคาวกลุ่มละ 1 ชนิด ตามขั้นตอนของกระบวนการทำงาน

2.  แต่ละกลุ่มเปลี่ยนกันชิมรสชาติอาหารที่ประกอบเสร็จแล้ว ให้คะแนน และสรุปผลการปฏิบัติงาน

สิ่งที่ต้องทำก่อนปฏิบัติการทำอาหาร
ให้นักเรียนเลือกอาหารคาว 1 ชนิด จากอินเทอร์เน็ต แล้วจดบันทึกขั้นตอนการทำตามกระบวนการทำงาน..พร้อมกับบอกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

สรุปผลการปฏิบัติงาน
สมาชิกในกลุ่ม................................................................................................
.......................................................................................................................
งานที่ปฏิบัติ....................................................................................................
.......................................................................................................................

การวิเคราะห์งาน.............................................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
 ......................................................................................................................
.......................................................................................................................
การวางแผนในการทำงาน..............................................................................
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
 ......................................................................................................................
...........................................................................
 การปฏิบัติงาน...............................................................................................
.......................................................................................................................
..........................................................................
......................................................................................................................
การประเมินผลการทำงาน..............................................................................
 ......................................................................................................................
..........................................................................

การเตรียม ประกอบ และจัดอาหารให้สมาชิกในครอบครัว

การเตรียม ประกอบ และจัดอาหารให้สมาชิกในครอบครัว

การวางแผนประกอบอาหาร
1. วัตถุประสงค์
- ปรุงอาหารไว้รับประทาน
- ประหยัดรายจ่าย
- ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่
2.  สิ่งที่จัดเตรียม
-  รายการอาหาร
-  ภาชนะเครื่องใช้
-  เครื่องปรุง
3.   ศึกษาวิธีการ
3.1 วิธีปรุง 
-ขั้นตอนการปรุง
-ตรวจสอบรสชาติอาหาร
-ปรับปรุงแก้ไข
3.2 วิธีจัดอาหารตั้งโต๊ะ
-จัดอาหาร
-หาภาชนะ
3.3 ทำความสะอาด
-สถานที่
-ภาชนะเครื่องใช้

การประกอบอาหาร
ตัวอย่างการวางแผนการประกอบอาหาร

แกงจืดเต้าหู้หมูสับ  มีขั้นตอนทำงานดังนี้

1. วิเคราะห์งาน  ศึกษารายละเอียดต่างๆ ของการทำแกงจืดหมูสับ ว่าจะต้องเตรียมสิ่งใดบ้าง
2. วางแผนการทำงาน  สร้างแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพ

วัตถุประสงค์  มีแกงจืดผักกาดขาวหมูสับที่มีรสชาติอร่อยไว้รับประทาน

การตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุง
 1.อุปกรณ์  หม้อ ทัพพี มีด เขียง ถาด ชาม จานแบน
       2. เครื่องปรุง               -หมูสับ                      100 กรัม
                                        - ผักกาดขาว              1  ต้น
                                        -  ต้นหอม                  2  ต้น
                                        -  น้ำเปล่า                 4  ถ้วย
                                        -  เต้าหู้หลอด             1  หลอด
                                        -  น้ำปลาหรือซีอิ้วขาว   2  ช้อนโต๊ะ
                                        -  ผักชี                       2  ต้น
                                        -  น้ำมันหอย             1  ช้อนโต๊ะ
                                        -  พริกไทยป่น            ½ ช้อนชา
                                        -  ซุปไก่                     ½ ก้อน
                                        -  น้ำตาลทราย           1  ช้อน
 ศึกษาวิธีการทำ
1.   การเตรียมเครื่องปรุง
2.  ขั้นตอนการประกอบอาหาร

การปฏิบัติงาน
1.  การเตรียมเครื่องปรุง
-  นำหมูสับมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ ได้แก่ น้ำมันหอย น้ำปลาหรือซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น คลุกเคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากันแล้วพักไว้ในชาม
-  ล้างผักกาดขาว ต้นหอม และผักชีให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นพอคำ วางแยกไว้เป็นส่วนๆ ในถาด
-   หั่นเต้าหู้หลอดเป็นแว่นๆ เตรียมไว้ให้พร้อม

วิธีทำ
-   เปิดเตาที่ไฟค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ
-   ใส่ซุปไก่หรือหมูลงไป พอน้ำเดือดแล้วนำเต้าหู้หลอดที่เตรียมไว้แล้วลงไป
-   รอจนน้ำเดือดอีกครั้งจึงตักหมูสับที่เตรียมไว้เป็นก้อนเล็กๆ ทยอยใส่ลงไป
-  ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย
-  นำผักกาดขาว ต้นหอมและผักชีใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดชิมรสแล้วยกลง
-  ตักใส่ถ้วย โรยด้วยพริกไทยแล้วยกเสริฟ

การประเมินผลการทำงาน
ตรวจสอบว่า แกงจืดที่ทำเสร็จมีรสชาติอร่อยหรือไม่ ถ้าจืดไป ควรแก้ด้วยการเติมน้ำปลาหรือซีอิ้วขาวลงไป





วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
18 สิงหาคมของทุกปี 

(ภาพจากเว็บไซต์ http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.cmsayhi.com/)

วันวิทยาศาสตร์ 
(ภาพจากเว็บไซต์  http://www.google.co.th/search?q=วันวิทยาศาสตร์)

 
วันวิทยาศาสตร์

ขอขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจาก กระปุกดอทคอม, Wikipedia และทางอินเทอร์เน็ต

          หลอดทดลอง บีกเกอร์ เครื่องชั่ง กล้องจุลทรรศน์ กล้องดูดาว ชามระเหย สามขา ตะแกงลวด คีม กระจกนาฬิกา ฯลฯ ... อ่ะ อ่ะ ไม่ต้องเอาคิ้วไปชนกันให้เมื่อยค่ะ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเราถึงเอ่ยชื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มาบอกเล่ากัน
          เนื่อง จากในทุก ๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 จะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้า 2 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ...วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาไปทำรู้จักที่มาที่ไป และประวัติของ วันวิทยาศาสตร์ กันค่ะ...
          แต่ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักความหมายของ "วิทยาศาสตร์" (Science) กันก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้ การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์

สำหรับประวัติ วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ได้แก่...
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง
          ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์
          ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230
          โดย จะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว
          ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ 

(ภาพจากเว็บไซต์  http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://2.bp.blogspot.com)

วันวิทยาศาสตร์
          ทั้ง นี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ  
          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ 
          นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม 
(ภาพจากเว็บไซต์ http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.thaigoodview.com)


วันวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
          1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" 
          2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ 
          4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 
          5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน

(ภาพจากเว็บไซต์  http://www.google.co.th/search?q=วันวิทยาศาสตร์)

   
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติใน วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ

          - ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
          - จัดนิทรรศการเผยแพร่ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
          - จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

(ภาพจากเว็บไซต์ http://www.horhook.com/section/sec4social/thaiholiday/thaiholiday.html)


คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

2532      พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2533      เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2534      ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
2535      เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร  โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2536      วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ  เพิ่มคุณค่าชีวิต  พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
2537      ขจัดปัญหาน้ำของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2538      เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล  เศรษฐกิจไทยมั่นคง
2539      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
2540      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2541      พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์  พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
2542      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
2543      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2544      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2545      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2546      เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  คุณค่าแห่งภูมิปัญญา  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2547      เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา  วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
2548      วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
2549      เศรษฐกิจพอเพียง  เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2550      วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
2551      วิทยาศาสตร์สร้างชาติ  สร้างอนาคต
2552      วิทยาศาสตร์ก้าวไกล  นำไทยก้าวหน้า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
-  th.wikipedia.org


-  lib.ru.ac.th

 
darasart.com

 
-  hilight.kapook.com

ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับวันวิทยาศาสตร์




วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบสอบถามความคิดเห็นการไปศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน

ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อไปนี้
1.  จากการไปร่วมกิจกรรมอินเทอร์เน็ตสีขาวที่ศูนย์ ICT ขอนแก่นครั้งนี้ นักเรียนมีความเห็นว่า  ได้ความรู้เพิ่มขึ้น   (ใช่ หรือ ไม่ใช่)
ตอบ..............................................................
2.  นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพิ่มขึ้น  (ใช่  หรือ ไม่ใช่)
ตอบ  .............................................................
3.  หลังจากได้เข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความมั่นใจว่าจะสามารถสืบค้น หรือหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้ (ใช่ หรือ ไม่ใช่)
ตอบ............................................................
4.  ถ้าโรงเรียนจะมีโครงการแบบนี้อีกครั้ง นักเรียนคิดว่าอยากเข้าร่วมโครงการอีกหรือไม่ (เข้าร่วม หรือ ไม่เข้าร่วม)
ตอบ.............................................................
5.  นักเรียนมีความพึงพอใจในการได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ในระดับใด (ให้คะแนน  1-2-3-4-5)
ตอบ............................................................

บันทึกการไปศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน


บันทึกการไปศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน
วันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ณ ศูนย์ ICT ขอนแก่น

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

บันทึกข้อมูลโดย  ด.ช./ด.ญ...............................
                              เลขที่.....ชั้น......